กิจกรรม 22-26 พฤศจิกายน 2553







ตอบ ข้อ 1. ระยาทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวที่ขอบนั้น

สืบค้นข้อมูล

ระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์นั้นไม่แน่นอน โดยเฉลี่ยแล้วมีระยะทาง 149,000,000,000 เมตร หรือ 92,600,000 ไมล์ครับ  ที่มาประมาณ 149 หรือ 152 ล้าน km 149คือโคจรรอบดวงอาทิตย์เปงวงรี แต่ส่วนป่องของโลกจะร้อนเพราะอยู่ไกล้ดวงอาทิตย์อากาศจะร้อนมาก 152 ล้านkm เปงวงโคจรโลกเราตามปัจจุบัน อีกประมาณ 5000 ล้านปีก็จะไม่มีโลกใบนี้แล้ว เพราะดวงอาทิตย์กำลังขยายตัวและเกิดแรงโน้มถ่วงมหาศาล ดาวเคราะดวงในจะถูกดวงอาทิตย์กลืนกินเข้าไป
แงๆๆๆ สงสารโลกเราจังอีก 5000 ล้านปีจะถูกดวงอาทิตยฺกลืนกิน






 




ตอบ ข้อ 3. อัตราการเย็นตัวของลาวา

สืบค้นข้อมูล

ในบรรดากาแล็กซีจำนวนมากที่รวมกันเป็นเอกภพนั้น มีอยู่กาแล็กซีหนึ่งที่เรารู้จักกันดีที่สุด นั่นคือ ทางช้างเผือก เนื่องจากเป็นกาแล็กซีที่เราตั้งรกรากอยู่  และเนื่องจากว่าทางช้างเผือกนี้มีส่วนปลายด้านหนึ่งเป็นแนวราบซึ่งเป็นที่อยู่ของดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งหลายที่เป็นดาวบริวาร  ทำให้เราได้แต่เฉพาะด้านข้างของมันเมื่อมองไปบนฟ้าในเวลากลางคืน  และจะแลเห็นมันเป็นเหมือนแถบสีขาวสว่างสุกใสแถบหนึ่งพาดอยู่บนฟากฟ้าจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง
ประวัติ (HISTORY
           อริสโตเติล (Aristotle) คิดว่าแถบสีขาวที่พาดข้ามฟ้าเป็นความปั่นป่วนอย่างหนึ่งของบรรยากาศในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นได้เป็นครั้งแรกแล้วนั้น  กาลิเลโอก็ได้พบว่าแถบสีขาวนี้แท้ที่จริงประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์จำนวนมากและไม่ได้เป็นปรากฎการณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบรรยากาศของโลกเราเลยแม้แต่น้อย  ต่อมาก็ได้มีการค้นพบดาวฤกษ์ใหม่ ๆ ทีละดวงสองดวง และตั้งแต่นั้นมา คำว่าทางช้างเผือก (the Milky Way) ก็มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่าเอกภพ (the Universe) แต่ครั้นถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อันเป็นยุคที่มีการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ใหม่  กลับพบว่ามีหมู่ของดาวฤกษ์ (Clusters of Stars) อื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไปอีกเป็นจำนวนมหาศาล  นั่นคือกาแล็กซีใหม่จำนวนมาก  ดังนั้นเอกภพจึงไม่ใช่เป็นแค่ทางช้างเผือกอีกต่อไป  แต่มันคือที่รวมของกาแล็กซีต่าง ๆ รวมทั้งกาแล็กซีของเราด้วย
รูปร่างของกาแล็กซีของเรา (THE SHAPE OF OUR GALAXY)
           เมื่อเรามองทางช้างเผือก  เราจะแลเห็นว่ามันเป็นรูปแถบยาวแถบหนึ่ง  แต่นั้นเป็นแต่สิ่งที่เราเห็นด้วยตา เพราะว่าเราอยู่ในระนาบเดียวกัน  ที่จริงแล้วทางช้างเผือกเป็นกาแล็กซีรูปเกลียวก้นหอย (spiral)  ที่ตรงกลางมีรูปคล้ายเลนส์หรือจานแบนใบหนึ่งและมีแขนยื่นออกมาจากส่วนกลางนั้น 4 แขน  ดวงอาทิตย์และโลกของเราอยู่ตรงปลายสุดของ 1 ใน 4 แขนนี้
วิวัฒนาการของทางช้างเผือก (EVOLUTION OF THE MILKY WAY)
            ดูเหมือนว่าทางช้างเผือกนั้นแต่เดิมเป็นกาแล็กซีรูปทรงกลมที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วต่ำ  ต่อมาเมื่อสสารระหว่างดวงดาวตรงใจกลางมีมากขึ้นทำให้มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นและความเร็วในการหมุนรอบตัวเองก็เพิ่มขึ้นด้วย  เป็นเหตุให้มันค่อย ๆ  แผ่เบนออกกลายเป็นรูปจานอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน  และเพราะว่ามีดาวฤกษ์ได้ก่อตัวขึ้นตรงบริเวณชายขอบจานทำให้เกิดเป็นแขนหลายแขนยื่นออกมา  จนในที่สุดก็เกิดเป็นรูปเกลียวก้นหอยรูปหนึ่งที่มีแขน 4  แขน  กระบวนการนี้กินเวลาประมาณ 10,000 ล้านปี    ใจกลางของทางช้างเผือกมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  15,000  ปีแสง  และมีความหนาราว  2,000  ปีแสง    มีการคำนวณกันว่าทางช้างเผือกประกอบขึ้นด้วยดาวฤกษ์ประมาณ  300,000  ดวง  ดาวทุกดวงที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีของเรา








 
ตอบ ข้อ 3. การชนกันของแผ่นเปลือกโลก
สืบค้นข้อมูล

เทือกเขาหิมาลัย (อังกฤษ: Himalaya Range) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางเหนือ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางใต้ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga). ในทางศัพทมูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง "ที่อยู่ของหิมะ" (หิม + อาลย) [ต้องการอ้างอิง]
เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ — ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล — เป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา-พรหมบุตร แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ














ตอบ ข้อ 4. หินดินดาน

สืบค้นข้อมูล

หินดินดาน (อังกฤษ: Shale) เป็นหินตะกอนเนื้อเม็ด (clastic sedimentary rock) ที่มีเนื้อละเอียดมาก มีองค์ประกอบของโคลนที่มีแร่ดิน (clay minerals) ปนกับเศษแร่ที่มีขนาดทรายแป้ง โดยเฉพาะแร่ควอร์ตซ์ และแร่แคลไซต์ โดยจะมีสัดส่วนองค์ประกอบของแร่ที่แปรเปลี่ยนไปอย่างกว้างขวาง ลักษณะเด่นของหินดินดานนี้จะมีฟิสซิลิตี (fissility) ที่เห็นเป็นแนวรอยแตกขนานไปกับชั้นบางๆที่มักมีความหนาน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ส่วนหินโคลน (mudstone) นั้นองค์ประกอบจะคล้ายกับหินดินดานแต่จะไม่แสดงลักษณะฟิสซิลิตี








 

ตอบ ข้อ 2. แผ่นยูเรเซียกับแผ่นอินเดีย

สืบค้นข้อมูล

ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (อังกฤษ: Plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้รวมและลบล้างทฤษฎีเก่าที่เกี่ยวกับการเลื่อนไหลของทวีปที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 รวมถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลที่ถูกคิดขึ้นระหว่างคริสตทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500)
ส่วนนอกสุดของโครงสร้างของโลกนั้นประกอบไปด้วยชั้นสองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นดินแข็ง (lithosphere) ที่มีเปลือกโลกและชั้นนอกสุดของแมนเทิลที่เป็นเย็นตัวและแข็งแล้ว ภายใต้ชั้นดินแข็งคือชั้นดินอ่อน (aethenosphere) ซึ่งแม้ว่ายังมีสถานะเป็นของแข็งอยู่ แต่ชั้นดินอ่อนนั้นมีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง ทั้งยังสามารถไหลได้คล้ายของเหลวซึ่งขึ้นอยู่กับลำดับเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง
ชั้นดินแข็งนั้นจะแตกตัวลงเป็นสิ่งที่เรียกว่าแผ่นเปลือกโลก ซึ่งในกรณีของโลกนั้น สามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นดินแข็งจะเลื่อนตัวอยู่บนชั้นดินอ่อน และจะเคลื่อนตัวสัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ซึ่งการเคลื่อนที่นี้สามารถแบ่งได้เป็นสามขอบเขตด้วยกันคือ ขอบเขตที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเขตที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ โดยปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวขึ้นของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี
นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดเล็กกว่าได้แก่แผ่นอินเดียน, แผ่นอาระเบียน, แผ่นแคริเบียน, แผ่นฮวนเดฟูกา, แผ่นนาซคา, แผ่นฟิลิปปินส์และแผ่นสโกเทีย
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกนั้นมีสาเหตุมาจากการรวมตัวและแตกออกของทวีปเมื่อผ่านช่วงเวลาหนึ่งๆ รวมถึงการรวมตัวของมหาทวีปในบางครั้ง ซึ่งได้รวมทุกทวีปเข้าด้วยกัน มหาทวีปโรดิเนีย (Rodinia) นั้นคาดว่าก่อตัวขึ้นเมื่อหนึ่งพันล้านปีที่ผ่านมา และได้ครอบคลุมผืนดินส่วนใหญ่บนโลก จากนั้นจึงเกิดการแตกตัวไปเป็นแปดทวีปเมื่อ 600 ล้านปีที่แล้ว ทวีปทั้งแปดนี้ต่อมาเข้ามาร่วมตัวกันเป็นมหาทวีปอีกครั้ง โดยมีชื่อว่าแพนเจีย (Pangaea) และในทึ่สุด แพนเจียก็แตกออกไปเป็นทวีปลอเรเซีย (Laurasia) ซึ่งกลายมาเป็นทวีปอเมริกาเหนือและยูเรเซีย และทวีปกอนด์วานา (Gondwana) ซึ่งกลายมาเป็นทวีปอื่นๆ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวข้างต้น ดังที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (plate motion) คือลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นที่อยู่ติดกัน สามารถจำแนกได้ออกเป็น 3 รูปแบบ ตามลักษณะการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กันระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง ได้ดังต่อไปนี้
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนผ่านกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนแยกจากกัน
  • การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแบบเคลื่อนเข้าหากัน













ตอบ ข้อ 4. การเคลื่อนที่ของแผ่นเเปลือกโลก
สืบค้นข้อมูล
แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์การสั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก
แผ่นดินไหวเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก (แนวระหว่างรอยต่อธรณีภาค) ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่เลื่อน เคลื่อนที่ หรือแตกหักและเกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน พลังงานศักย์นี้อยู่ในรูปคลื่นไหวสะเทือน จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก เท่าที่เคยวัดได้ลึกสุดอยู่ในชั้นแมนเทิล
ส่วนจุดที่อยู่ในระดับสูงกว่า ณ ตำแหน่งผิวโลก เรียกว่า "จุดเหนือศูนย์กลางแผ่นดินไหว" (epicenter) การสั่นสะเทือนหรือแผ่นดินไหวนี้จะถูกบันทึกด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า ไซสโมกราฟ โดยการศึกษาเรื่องแผ่นดินไหวและคลื่นสั่นสะเทือนที่ถูกส่งออกมา จะเรียกว่า "วิทยาแผ่นดิน



ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7






ตอบ ข้อ 4. หินตะกอน

สืบค้นข้อมูล
      หินชั้นเป็นหินที่เกิดจากกระบวนการผุกร่อนในธรรมชาติของหินเก่าชนิดต่างๆ ที่ถูกกระแสน้ำ ธารน้ำแข็งหรือลมพัดพามาทับถมกันในบริเวณหนึ่งซึ่งมักเป็นแอ่งหรือที่ราบต่ำเช่นพื้นแม่น้ำ หรือพื้นท้องทะเลเป็นชั้นๆ เศษหิน ทราย โคลนและดินเหนียวเหล่านี้จะมีการอัดตัวกันแน่นเข้าเนื่องจากการทับถมกันเป็นเวลานาน และตามช่องว่างจะมีตัวประสานเข้าไปแทรกแล้วเกิดการตกผลึกประสานเศษหิน หรือตะกอนเข้าด้วยกันเกิดเป็นหินชั้นขึ้น อย่างไรก็ดีหินชั้นเป็นหินที่เกิดการผุพังสึกกร่อนได้ง่าย จึงจัดหินประเภทนี้เป็นหินเนื้ออ่อนหินชั้นยังอาจเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ ซึ่งเรียกว่า ฟอสซิล หรือ ซากดึกดำบรรพ์




ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/sakaew/wanchana_k/rocks/sec02p01.html













ตอบ ข้อ 3. ชั้นเนื้อโลก

สืบค้นข้อมูล
ชั้นเนื้อโลก (mantle) เป็นชั้นที่อยู่ถัดไปจากเปลือกโลก ส่วนมากเป็นของแข็งเป็นหินที่เย็นตัวแล้วและบางส่วนมีรอยแตกเนื่องจากความเปราะ ลึก2900กิโลเมตร

ชั้นเนื้อโลกส่วนบนรวมกับชั้นเปลือกโลก เรียกว่า “ธรณีภาค” มีความหนา 100กิโลเมตรนับจากผิวลงไป


ชั้นเนื้อโลกถัดไปมีความลึก 100-350กิโลเมตร เรียกว่า ฐานธรณีภาค เป็นชั้นหินหลอมละลาย ที่ เรียกว่า แมกมา


ชั้นเนื้อโลกที่มีความลึก 350-2,900 กิโลเมตร เป็นชั้นที่เป็นของแข็งร้อนแต่แน่นและหนืดกว่าตอนบน มีอุณหภูมิ ประมาณ2,250-4,500 องศา



ที่มาhttp://learn.chanpradit.ac.th/nuch/urat6-3/Untitled-4.htm


การบ้าน

สืบค้น Link

1.  http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/social04/15/5.html

2. http://www.vcharkarn.com/varticle/37243

3. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81

4. http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-6/no07/himaliya.html

5. http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%99

6. http://www.sunflowercosmos.org/astronomy/astronomy_main/galaxy.html

7. http://www.navy.mi.th/sattahipbase/unit/wfrock/world.php

8. http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/34/page/fossil.html

9. http://www.patchra.net/minerals/MinDesc/metamo05.php

10. http://www.yupparaj.ac.th/special/earthquake/tsunami.htm